7 Checklists วางแผน Career Path หาอาชีพที่ใช่ให้ตนเอง

Career Path คือ ลำดับขั้นตอนของงานหรือตำแหน่งงานที่คาดหวังจะก้าวหน้าไปในสายอาชีพ เหมือนเป็นแผนที่นำทาง ช่วยให้เรารู้ว่าต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ และประสบการณ์อะไรบ้าง เพื่อบรรลุเป้าหมายในอาชีพนั้น

การมี Career Path ที่ชัดเจน จะช่วยให้คุณ

  • มุ่งมั่น ทำงานอย่างมีเป้าหมาย
  • พัฒนา ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์
  • ก้าวหน้า ในสายอาชีพ
  • ประสบความสำเร็จ ในหน้าที่การงาน

7 Checklists วางแผน Career Path หาอาชีพที่ใช่ให้ตนเอง

1. ร่างเค้าโครงเป้าหมายปลายทาง

ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกว่าอยากจะไปในสายอาชีพไหน ลองตั้งคำถามและตอบตัวเองเพื่อให้มองเห็นความต้องการของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น

  • จริงๆ แล้วสิ่งที่ต้องการจากอาชีพของตัวเองคืออะไร ?
  • รู้สึกชอบทำอะไรทั้งในด้านอาชีพและเมื่อมีเวลาว่าง ?
  • ความถนัด หรือ จุดแข็งของเราคืออะไร ?
  • คิดว่าตัวเองอยากที่จะเป็นสายผู้เชี่ยวชาญในงานนั้น หรืออยากจะเป็นสายบริหารจัดการ ?

2. วางแผนอนาคตระยะ 5 ปี และ 10 ปี

เมื่อเริ่มมองเห็นทิศทางที่อยากจะไปแล้ว ให้ลองค้นหาดูว่าในสาขาที่เรียนจบมา คนที่ทำงานมาแล้ว 5 ปี 10 ปี เขาอยู่ในตำแหน่งไหนกันบ้าง ลองลิสต์ตำแหน่งเหล่านั้นเก็บไว้พิจารณา

3. บุคลิกภาพของเราเหมาะกับงานแบบไหน

เพราะเราต้องใช้เวลาอยู่กับการทำงานเกินครึ่งหนึ่งของแต่ละวัน รูปแบบการทำงานบางอย่างอาจจะไม่ได้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเราเสมอไป เมื่อตัดสินใจที่จะเริ่มวางแผนแล้วก็ควรมองหาตำแหน่งที่เหมาะสมกับตัวเองทั้งมุมของความก้าวหน้า และความพึงพอใจไปด้วยเลย

4. ทบทวนประสบการณ์ที่ผ่านมา

ลองย้อนกลับไปทบทวนว่าประสบการณ์ที่เคยผ่านมานั้น มีสิ่งใดบ้างที่รู้สึกว่าทำแล้วพึงพอใจ และรู้สึกว่ามันลงตัวกับเรา ทำแล้วรู้สึกเติมเต็ม อาจจะเป็นสิ่งที่เคยทำในตำแหน่งงานเก่า หรือหากเป็นนักศึกษาก็อาจเป็นโปรเจกต์ที่เคยได้ลองทำ

5. เปรียบเทียบวุฒิที่นายจ้างต้องการกับวุฒิที่มี

บางงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง จำเป็นจะต้องเป็นผู้เรียนจบหรือมีประสบการณ์ในสายงานนั้นมาก่อน หากคุณมีตำแหน่งที่อยากจะเป็นในใจแล้ว ให้ตรวจสอบว่าเขาต้องการคุณสมบัติผู้สมัครที่เรียนจบอะไรมา หากคุณจบมาไม่ตรงสาย ก็ลองดูว่าสามารถที่จะใช้วิธีลงเรียนเพิ่มเพื่อเก็บความรู้ หรือทำโปรเจกต์เพื่อสร้างผลงานได้หรือไม่

6. ประเมินทักษะปัจจุบัน

ลิสต์ออกมาให้ชัดเจนว่าเรามี Hard Skill และ Soft Skill เรื่องใดบ้าง เชี่ยวชาญในระดับไหน สามารถที่จะบอกให้ผู้อื่นเข้าใจหรือรับทราบทักษะที่เรามีตรงนี้ไหม ตำแหน่งงานที่หมายตาเอาไว้ จำเป็นต้องใช้ทักษะเรื่องใด การเขียนออกมาเป็นข้อๆ ก็เพื่อให้เรารู้ว่าจะต้องพัฒนาความรู้ส่วนไหนเพิ่มเพื่อให้เข้าใกล้อาชีพเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น


การสื่อสาร “ทักษะที่มี” ให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนจะช่วยให้มีโอกาสในตำแหน่งงาน และช่วยให้เข้าใจความสามารถของตัวเองมากขึ้น

ทักษะแนะนำที่รับรองด้วย Certificate มาตรฐานสากล

7. พิจารณาขอบเขตเงินเดือน

แต่ละเส้นทางอาชีพมีความหลากหลาย แน่นอนว่าค่าตอบแทนย่อมแตกต่างกันออกไป ต่อให้เป็นตำแหน่งงานเดียวกัน แต่ประเภทธุรกิจต่างกัน เงินเดือนที่ได้รับก็ต่างกันไปด้วย ลองค้นข้อมูลเงินเดือนเฉลี่ยตามตำแหน่งงาน เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดฐานค่าตอบแทนว่าในสายงานนี้ตำแหน่งเริ่มต้นควรได้รับเงินเท่าไหร่ เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นควรได้รับเท่าไหร่ เพื่อให้ตัวคุณเข้าใจภาพรวมของสายอาชีพนั้น และมีเป้าหมายในการพัฒนาตัวเองขึ้นไปอีกระดับ เพื่อให้ไปถึงปลายทาง Career Path ของคุณ


7-checklists-career-path

เริ่มต้นวางแผน Career Path ของคุณตั้งแต่วันนี้
รับรองทักษะที่มีด้วยใบรับรองมาตรฐานสากล

Previous Postคลังคำศัพท์ Digital Marketing ที่ควรรู้ก่อนสอบ Meta Certified (Facebook)
Next Postสูตรไม่ลับ 3 Step สู่เส้นทางเรียนรู้ให้ Success