คลังคำศัพท์ Digital Marketing ที่ควรรู้ก่อนสอบ Meta Certified (Facebook)

หลังจากโลกประสบปัญหาครั้งใหญ่ที่ทำให้การใช้ชีวิตหยุดชะงัก เร่งให้การเข้ามาของดิจิทัลเฟื่องฟูจนสามารถผลักดันพฤติกรรมของผู้คนให้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงในทุกพาร์ท ผลักชีวิตออฟไลน์ให้เข้าสู่ออนไลน์ไม่ว่าในตอนนั้นเราจะพร้อมหรือไม่ก็ตาม สถานการณ์รอบข้างทำให้ทุกคนต้องปรับตัว กระทั่งกลายมาเป็นชีวิตแบบ Hybrid ที่ผสมผสานเข้ารูปได้ลงตัวมากขึ้นเช่นวันนี้

เมื่อโลกเปลี่ยน ผู้คนเปลี่ยน ธุรกิจก็ต้องปรับเปลี่ยน และสิ่งหนึ่งที่หนีไม่พ้นคือการทำการตลาด ซึ่ง Traditional Marketing แบบเดิม ๆ ไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจยืนบนสังเวียนการแข่งขันได้อีกต่อไป ธุรกิจต้องใช้ประโยชน์จากการมีอยู่และเติบโตของดิจิทัลให้ได้ จึงทำให้ Digital Marketing กลายเป็นหนึ่งในสายอาชีพที่ HOT ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ซึ่งก้าวแรกสู่โลกดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง ไม่ว่าอย่างไรก็หนีไม่พ้นการทำการตลาดผ่าน Social Media และหนึ่งในแพลตฟอร์มออนไลน์ยักษ์ใหญ่อันดับต้นของโลกที่เรารู้จักกันดีก็คือ Meta (Facebook) ไม่ว่าก่อนหน้านี้ Facebook จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ใด แต่ปัจจุบันเฟซบุ๊กถูกใช้เป็นแหล่งทำการตลาดที่ทุกคนนึกถึงในการใช้เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

และเพื่อสนับสนุนให้เหล่านักการตลาดมือใหม่ หรือผู้ที่สนใจอยากย้ายมาโลดแล่นในสายงาน Digital Marketing เราจึงขอยกคำศัพท์ที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการทำการตลาดผ่าน Facebook มาเผยแบบไม่กั๊ก เพื่อให้คุณสามารถเข้าใจการทำ “การตลาดดิจิทัลผ่าน Meta Technology” ได้ดีขึ้น รวมไปถึงใช้ทบทวนเพื่อเตรียมสอบใบรับรอง Meta Certified Digital Marketing Associate


Meta Digital Marketing Glossary

A


A/B test

การทดสอบโฆษณาแบบเปรียบเทียบ เพื่อดูว่าโฆษณาชุดไหนให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

แนวทางของการทดสอบแบบ A/B

  1. สร้างโฆษณาต้นฉบับ (Version A) จากนั้นสร้างโฆษณาอีกชุด (Version B) โดยปรับเปลี่ยนบางส่วนของโฆษณาต้นฉบับ เช่น ภาพ ข้อความ หรือ ปุ่ม call-to-action
  2. นำโฆษณาเวอร์ชัน A และ B ไปแสดงผลกับกลุ่มเป้าหมายที่คล้ายคลึงกัน
  3. ติดตามผลลัพธ์ของโฆษณาแต่ละเวอร์ชัน เช่น จำนวนคนที่เห็นโฆษณา (Reach) จำนวนคลิก (Clicks) หรือ ยอดขาย (Conversions)
  4. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดูว่าโฆษณาเวอร์ชันใด มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า

ตัวอย่าง 1

ร้านขายรองเท้าออนไลน์ ต้องการทดสอบว่าข้อความแบบไหนในโฆษณาที่จะช่วยกระตุ้นยอดขายได้ดีกว่ากัน

  • สร้างโฆษณาเวอร์ชัน A ใช้ข้อความ “รองเท้าลดราคา 50%!”
  • สร้างโฆษณาเวอร์ชัน B ใช้ข้อความ “คอลเลคชันรองเท้าใหม่ล่าสุด! พร้อมส่วนลดพิเศษ”

ตัวอย่าง 2

แอปพลิเคชันเรียกรถต้องการทดสอบว่าปุ่ม call-to-action แบบไหนที่จะดึงดูดผู้ใช้ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน มากกว่ากัน

  • สร้างโฆษณาเวอร์ชัน A ใช้ปุ่ม call-to-action ข้อความ “ดาวน์โหลด”
  • สร้างโฆษณาเวอร์ชัน B ใช้ปุ่ม call-to-action ข้อความ “รับข้อเสนอ”


Ad

โฆษณา คือเนื้อหาที่ส่งเสริมการขายสินค้า บริการ หรือความคิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้ชมสนใจ ซื้อ หรือใช้สิ่งที่โฆษณา
องค์ประกอบสำคัญของโฆษณาใน Meta
ข้อความ (Message) เนื้อหาที่ต้องการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย
ภาพ (Image) รูปภาพ กราฟิก หรือ วิดีโอ ที่ช่วยดึงดูดความสนใจ และเสริมสร้างข้อความ
ปุ่ม call-to-action (Call to action - CTA) ข้อความกระตุ้นให้ผู้รับสารดำเนินการบางอย่าง เช่น "คลิกเลย" "ซื้อตอนนี้" "สมัครสมาชิก”


Ad format

โครงสร้าง หรือ เลย์เอาต์ของโฆษณาที่กำหนดลักษณะการแสดงผล จำนวนภาพ และ วิดีโอ ที่โฆษณาสามารถรองรับได้


Ads Level

ลำดับขั้นของการสร้างโฆษณาใน Meta Ads Manager แบ่งการสร้างแคมเปญโฆษณาออกเป็น 3 ระดับโฆษณา (Ad Level)

  • แคมเปญ (Campaign)
  • ชุดโฆษณา (Ad set)
  • โฆษณา (Ad)


Ads Set

ชุดโฆษณา คือ การจัดกลุ่มโฆษณาหลายชิ้นที่แชร์งบประมาณ ระยะเวลาโฆษณา ประเภทการประมูล ข้อมูลการประมูล และกลุ่มเป้าหมายร่วมกัน เช่น แบรนด์ที่ต้องการโปรโมตเสื้อผ้า สามารถสร้างชุดโฆษณาหนึ่งสำหรับเสื้อผ้าผู้ชาย และอีกชุดหนึ่งสำหรับเสื้อผ้าผู้หญิงได้


(Meta) Ads Manager

เครื่องมือสำหรับการจัดการโฆษณาบนแพลตฟอร์มของ Meta Technologies ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำหรับติดตามสถานะ ผลลัพธ์ และประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนข้อมูล แก้ไข ปรับแต่ง หรือ หยุดชั่วคราวได้


Ads Report

รายงานที่สร้างและจัดการภายใน Ads Manager แสดงผลประสิทธิภาพของชุดโฆษณา
ข้อมูลทั่วไป
เช่น ชื่อแคมเปญ ชื่อชุดโฆษณา วันที่เริ่มต้น และ วันสิ้นสุดของการแสดงผลโฆษณา

ข้อมูลประสิทธิภาพ
จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแคมเปญโฆษณา เช่น

  • การรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness)
  • จำนวนคนที่เห็นโฆษณา (Reach)
  • จำนวนครั้งที่โฆษณาถูกแสดงผล (Impressions)
  • การมีส่วนร่วม (Engagement) จำนวนไลก์ คอมเมนต์ และการแชร์
  • การคลิก (Clicks)
  • จำนวนคนที่คลิกโฆษณา
  • การแปลง (Conversions) ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น กรณีเป็นการขายสินค้า ข้อมูลการแปลงอาจจะหมายถึงจำนวนคนที่สั่งซื้อสินค้า หรือ จำนวนคนที่สมัครสมาชิกเว็บไซต์

ข้อมูลงบประมาณ
ยอดเงินที่ใช้ไปกับโฆษณาเทียบกับงบประมาณที่ตั้งไว้


Advantage+ Campaign Budget

งบประมาณแคมเปญแบบ Advantage+ ใน Ads Manager คือการตั้งค่าที่อนุญาตให้ Meta technologies กระจายงบประมาณโฆษณาไปยังชุดโฆษณาต่าง ๆ ภายในแคมเปญ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยรวมที่ดีที่สุด


(Meta) Audience Network

เครือข่ายที่ประกอบด้วยผู้เผยแพร่แอปมือถือที่ได้รับการอนุมัติจาก Meta ให้แสดงโฆษณาภายในแอปของตน


Advantage+ Placements

ระบบการเลือกตำแหน่งโฆษณาอัตโนมัติของ Meta ซึ่งจะทำการเลือกตำแหน่งการแสดงโฆษณาบนแพลตฟอร์มต่างๆ ของ Meta Technologies ให้อัตโนมัติ

จุดเด่น

  • ความสะดวกสบาย ไม่จำเป็นต้องเลือกตำแหน่งการแสดงโฆษณาเอง ระบบจะวิเคราะห์ข้อมูล และเลือกตำแหน่งที่คิดว่าเหมาะสม เพื่อให้โฆษณามีประสิทธิภาพสูงสุด
  • ประสิทธิภาพการโฆษณา ระบบ Advantage+ Placements ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเรียนรู้ข้อมูลและวิเคราะห์ว่าตำแหน่งใดเหมาะกับการแสดงโฆษณามากที่สุดเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ และมีโอกาสที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของแคมเปญโฆษณาได้ดียิ่งขึ้น
  • เหมาะสำหรับมือใหม่ ระบบ Advantage+ Placements เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งานโฆษณาบนแพลตฟอร์มของ Meta Technologies เพราะช่วยให้ประหยัดเวลา และไม่ต้องมีความรู้ด้านการเลือกตำแหน่งโฆษณาที่ซับซ้อน

ข้อควรระวัง

  • สูญเสียการควบคุมเพราะไม่สามารถควบคุมได้ว่าโฆษณาจะไปแสดงผล บนตำแหน่งใดบ้างของแพลตฟอร์ม Meta Technologies
  • อาจไม่เหมาะกับบางแคมเปญหากแคมเปญโฆษณาของคุณมีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจงอยู่แล้ว เช่น ต้องสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) บน Instagram อย่างเดียว ก็เลือกวัตถุประสงค์ของโฆษณาไปเลย ไม่ต้องให้ระบบไปค้นหา



B


Budget

งบประมาณ (Budget) ใน Ads Manager คือ การตั้งค่าที่แจ้งให้ Meta Technologies ทราบเกี่ยวกับจำนวนเงินสูงสุดที่ยินดีจะจ่ายสำหรับแต่ละชุดโฆษณา (ad set) ภายในแคมเปญโฆษณา

ตัวอย่าง 1

คุณต้องการโปรโมตเว็บไซต์บน Facebook
คุณตั้งงบประมาณรายวัน 100 บาท สำหรับชุดโฆษณา
ระบบของ Meta จะไม่ใช้จ่ายโฆษณาของคุณเกินกว่า 100 บาทต่อวัน ภายในชุดโฆษณาชุดนั้น

ตัวอย่าง 2

คุณต้องการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าบน Instagram
คุณตั้งงบประมาณตลอดอายุการใช้งาน 5,000 บาท สำหรับชุดโฆษณา
ระบบของ Meta จะไม่ใช้จ่ายโฆษณาเกินกว่า 5,000 บาท ภายในชุดโฆษณาชุดนั้น ตลอดระยะเวลาที่แคมเปญโฆษณาของคุณกำลังทำงาน



C


Campaign

แคมเปญ ในบริบทการโฆษณาออนไลน์ แปลว่า ชุดกิจกรรมการโฆษณา ที่สร้างขึ้นในรอบธีมเดียวหรือชุดคุณลักษณะเดียว โดยแพลตฟอร์มโฆษณาจะนำไปแสดงกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้

ตัวอย่าง

ร้านค้าเสื้อผ้าออนไลน์ต้องการโปรโมตคอลเลกชันเสื้อผ้าฤดูร้อนใหม่
สามารถสร้างแคมเปญโฆษณาที่มีธีม "Summer Vibes" โดยใช้โฆษณาภาพและวิดีโอที่ดึงดูดใจ
กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว และตั้งงบประมาณสำหรับแคมเปญ


Campaign Level

ระดับแคมเปญ (Campaign Level) ใน Ads Manager คือขั้นตอนแรกในการสร้างแคมเปญโฆษณา ซึ่งจะกำหนดวัตถุประสงค์หลัก (Campaign Objective) กลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) และกลยุทธ์เบื้องต้นของโฆษณาชุดนั้นๆ


Campaign Objective

เป้าหมายแคมเปญ คือ จุดมุ่งหมายหลักที่ผู้โฆษณาเลือกสิ่งที่ต้องการจากแคมเปญการตลาด ใน Ads Manager การตั้งค่าเป้าหมายแคมเปญจะอยู่ที่ ระดับแรก ของการสร้างแคมเปญ ประกอบด้วย 3 จุดมุ่งหมายหลักให้เลือก ได้แก่

  • การรับรู้ (Awareness) : สร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ สินค้า หรือบริการ
  • การพิจารณา (Consideration) : กระตุ้นให้ผู้คนสนใจสินค้าหรือบริการ เช่น ดึงดูดผู้เข้าชมเว็บไซต์ หรือดูวิดีโอ
  • การเปลี่ยนให้มาเป็นลูกค้า (Conversion) : ชักจูงให้ผู้คนดำเนินการ เช่น ซื้อสินค้า ลงทะเบียนรับจดหมายข่าว หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน


Carousel

Carousel คือ รูปแบบโฆษณาที่แสดงเนื้อหาโปรโมตหลายภาพ หรือ หลายวิดีโอ ที่ผู้ชมโฆษณาสามารถเลื่อนไปมาได้จากซ้ายไปขวา


Collections

คอลเลกชันส์ (Collections) เป็นรูปแบบโฆษณาที่ใช้งานได้ผ่านโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ลักษณะคล้ายกับโฆษณาแบบ Carousel เมื่อผู้ชมกดที่โฆษณา จะเห็นคอลเล็กชันสินค้าเหมือนกับเข้าไปซื้อของในร้าน e-commerce


Conversions API

Conversions API เป็นช่องทางที่ช่วยรวบรวมข้อมูลกิจกรรมของลูกค้าบนเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้สามารถติดตามผลลัพธ์ของแคมเปญโฆษณาบน Meta platforms ได้โดยไม่ต้องอาศัยข้อมูลจาก cookies


Cost Per Action (CPA)

ตัวอย่างของ "การกระทำ" (action)

  • การซื้อสินค้า
  • การลงทะเบียนรับจดหมายข่าว
  • การดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
  • การกรอกแบบฟอร์มติดต่อ
  • การเข้าชมเว็บไซต์

วิธีคิด CPA = งบประมาณโฆษณาทั้งหมด / จำนวนการกระทำทั้งหมด

ตัวอย่าง

คุณใช้เงินโฆษณาบน Facebook ไป 1,000 บาท และมีผู้คน 20 คน
ซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ของคุณจากการเห็นโฆษณาชิ้นนี้
ดังนั้น CPA จะเท่ากับ 1,000 บาท / 20 คน = 50 บาทต่อการซื้อสินค้า


Cost Per Click (CPC)

Cost per Click (CPC) คือ ต้นทุนต่อคลิก หมายถึง จำนวนเงินที่ต้องจ่ายทุกครั้ง เมื่อมีคนคลิกโฆษณา
CPC เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่ช่วยประเมินว่าผู้คนเห็นโฆษณาของคุณบ่อยแค่ไหน และสนใจคลิกเข้ามาดูเว็บไซต์ หรือเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของคุณหรือไม่ แต่ CPC ก็ไม่ได้เป็นการการันตีว่าผู้คนที่คลิกโฆษณา จะกลายเป็นลูกค้าเสมอไป


Cost Per Impression (CPI)

Cost per Impression (CPI) คือ ต้นทุนต่อการแสดงผล หมายถึง จำนวนเงินที่คุณต้องจ่ายทุกครั้งที่มีคนเห็นโฆษณา แม้จะไม่ได้คลิกโฆษณานั้นก็ตาม เหมาะสำหรับแคมเปญโฆษณาที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness)

ตัวอย่าง

คุณใช้เงินโฆษณาบนเว็บไซต์ข่าวสารแห่งหนึ่งไป 200 บาท และมีผู้คน 10,000 คนที่เห็นโฆษณา ดังนั้น CPI จะเท่ากับ 200 บาท / 10,000 คน = 0.02 บาทต่อการแสดงผล (หรือ 20 บาทต่อ 1,000 การแสดงผล)

สามารถนำมาใช้ประเมินค่าโฆษณาเบื้องต้นได้ เช่น หากต้องการให้มีคนเห็นโฆษณา 100,000 คน จะต้องใช้งบประมาณ 2,000 บาท


Custom Audience

กลุ่มเป้าหมายที่สร้างขึ้นเองโดยใช้เครื่องมือพิเศษช่วยให้เข้าถึงกลุ่มคนที่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจมาก่อน

Custom Audience สร้างได้จากข้อมูลหลายแหล่ง

  • Customer List : รายชื่อลูกค้าที่มีอยู่แล้ว เช่น อีเมล เบอร์โทรศัพท์
  • Website Traffic : ผู้ที่เคยเข้าชมเว็บไซต์มาก่อน ซึ่งจะต้องมีการติดตั้ง Facebook Pixel : เพื่อติดตามพฤติกรรมการใช้งานก่อนนำมาใช้
  • App Activity : ผู้ที่เคยใช้แอปพลิเคชัน โดยต้องติดตั้ง Facebook SDK เพื่อติดตามพฤติกรรมการใช้งาน
  • Offline Activity : ข้อมูลจากกิจกรรมออฟไลน์ เช่น การซื้อสินค้าที่หน้าร้าน โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับหมายเลขโทรศัพท์หรืออีเมล



I


Instant Experience

Instant Experience

ตัวอย่าง 1

ร้านขายเครื่องสำอาง ใช้ Instant Experience เพื่อแสดงคอลเลคชันสินค้าใหม่ล่าสุด มีวิดีโอสั้นๆ สาธิตการแต่งหน้า และปุ่ม call-to-action ให้เข้าไปช้อปสินค้าได้เลย

ตัวอย่าง 2

บริษัทท่องเที่ยว ใช้ Instant Experience โชว์ภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ พร้อมข้อมูลแพ็คเกจทัวร์ และฟอร์มสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ผู้ชมสามารถกดเข้ามาสอบถามได้เลย



K


Key Performance Indicator

ตัวชี้วัดเพื่อประเมินความสำเร็จของแคมเปญหรือโฆษณา (KPI)

KPI ที่นิยมใช้

  • Reach (การเข้าถึง) จำนวนคนที่เห็นโฆษณา
  • Impressions (จำนวนการแสดงผล) จำนวนครั้งที่โฆษณาปรากฏบนหน้าจอ
  • Clicks (คลิก) จำนวนคนที่คลิกโฆษณา
  • Conversions (การแปลงผล) จำนวนคนที่ดำเนินการที่ต้องการ เช่น การซื้อสินค้า การลงทะเบียนรับจดหมายข่าว
  • Cost per Click (CPC) (ต้นทุนต่อคลิก) จำนวนเงินที่ต้องจ่ายทุกครั้ง ที่มีคนคลิกโฆษณา
  • Cost per Acquisition (CPA) (ต้นทุนต่อการแปลงผล) จำนวนเงินที่ต้องจ่ายทุกครั้ง ที่มีคนดำเนินการที่ต้องการอันเนื่องมาจากโฆษณาของคุณ



L


Lookalike Audience

กลุ่มเป้าหมายใหม่บนแพลตฟอร์มโฆษณาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่เดิม ช่วยให้ยิงโฆษณาไปยังกลุ่มคนที่ “มีแนวโน้ม” ที่จะสนใจสินค้า หรือบริการ เหมือนกับลูกค้าปัจจุบันของคุณ

ตัวอย่าง

ร้านขายเสื้อผ้าออนไลน์ มีฐานข้อมูลลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เคยซื้อสินค้าประเภทเสื้อยืด ร้านค้าสามารถสร้าง Lookalike Audience ให้ระบบทำการวิเคราะห์ข้อมูล และค้นหาผู้คนที่มีคุณสมบัติ ความสนใจ หรือพฤติกรรมการใช้งานใกล้เคียงกับกลุ่มลูกค้าที่เคยซื้อเสื้อยืด ซึ่งมีโอกาสที่จะสนใจ และตัดสินใจซื้อสินค้าสูง

ข้อดี

  • เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่มีศักยภาพ ช่วยให้ขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มคนที่กว้างขึ้นได้
  • เพิ่มประสิทธิภาพการโฆษณา เพราะโฆษณาจะไปแสดงเฉพาะกลุ่มคนที่สนใจจริง ๆ
  • ยกระดับผลลัพธ์ของแคมเปญโฆษณาจากโอกาสที่ผู้คนจะคลิกโฆษณา หรือดำเนินการที่ต้องการจะเพิ่มสูงขึ้น



N


New Audiences

กลุ่มเป้าหมายใหม่ (New Audiences) เป็นตัวเลือกการกำหนดกลุ่มเป้าหมายพื้นฐานของโฆษณา โดยอาศัยเกณฑ์การกำหนดลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย

  • ข้อมูลประชากร (Demographics) เช่น อายุ เพศ สถานภาพ การศึกษา
  • ที่ตั้ง (Location) เช่น ประเทศ เมือง รหัสไปรษณีย์
  • ความสนใจ (Interests) เช่น งานอดิเรก ความชอบ แบรนด์ที่ติดตาม
  • พฤติกรรม (Behaviors) เช่น การซื้อขายสินค้าออนไลน์ การใช้อุปกรณ์ประเภทใด การเดินทางท่องเที่ยว

ตัวอย่าง

ร้านอาหารเกาหลีเปิดใหม่ ต้องการโปรโมตร้าน โดยใช้การกำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบ New Audiences เลือกที่ตั้งเป็นย่านที่มีคนอยู่อาศัยหนาแน่น เลือกความสนใจเป็นอาหารเกาหลี และพฤติกรรมที่เคยรีวิวร้านอาหาร

การตั้งค่านี้จะทำให้โฆษณาของร้านมีโอกาสที่จะไปแสดงผลกับกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น และมีแนวโน้มที่จะสนใจอาหารเกาหลีอยู่แล้ว



M


Meta Pixel

ชื่อชุดโค้ดพิเศษสำหรับติดตั้งบนเว็บไซต์ เพื่อติดตามประสิทธิภาพของโฆษณา

ตัวอย่างการนำไปใช้

  • สำหรับการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Targeting)
    ติดตามพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ และนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้สร้างกลุ่มเป้าหมายสำหรับโฆษณาได้อย่างแม่นยำ เช่น กลุ่มคนที่เคยเข้าชมสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่งบนเว็บไซต์
  • การวัดผลแคมเปญโฆษณา (Campaign Measurement)
    ติดตามผลลัพธ์ของแคมเปญโฆษณา เช่น จำนวนคนที่เห็นโฆษณา จำนวนคลิก หรือยอดขายที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ที่มามาจากการคลิกโฆษณา
  • การเพิ่มประสิทธิภาพโฆษณา (Ad Optimization)
    เรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้า และนำข้อมูลไปปรับแต่งโฆษณาให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น


P


Placement

ตำแหน่งที่โฆษณาจะปรากฏบนเว็บไซต์ หรือบนแอปพลิเคชัน

  • Feed : ตำแหน่งที่โฆษณาแทรกอยู่ระหว่างเนื้อหาของผู้ใช้ เช่น ฟีดข่าวสารบน Facebook หรือ ฟีดรูปภาพและวิดีโอ บน Instagram
  • Instagram Stories : โฆษณาแบบเต็มหน้าจอ ซึ่งจะโชว์ขึ้นระหว่างสตอรี่ของผู้ใช้บน Instagram
  • Messenger Inbox : โฆษณาที่ปรากฏภายในแอปพลิเคชัน Messenger อาจอยู่ในรูปแบบข้อความ หรือ แบนเนอร์



S


Slideshow Ads

รูปแบบโฆษณาที่ผสมผสาน ภาพนิ่ง ข้อความ และเสียงเข้าไว้ด้วยกันเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชม เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสินค้า บริการ หรือโปรโมชัน

  • ดึงดูดความสนใจ การเคลื่อนไหวของภาพนิ่ง ช่วยให้โฆษณาโดดเด่นและหยุดสายตาผู้ชมได้ง่ายกว่าภาพนิ่งแบบธรรมดา
  • เล่าเรื่องราวได้มีประสิทธิภาพ สามารถใช้ภาพ ข้อความ และเสียงเพื่อเล่าเรื่องหรืออธิบายเกี่ยวกับสินค้า บริการได้ครบถ้วนภายในเวลาสั้นๆ
  • ใช้งานง่าย และประหยัดต้นทุน ไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมตัดต่อวิดีโอขั้นสูง สามารถสร้างสรรค์โฆษณาได้โดยใช้เครื่องมือที่มีให้บนแพลตฟอร์ม มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าโฆษณาแบบวิดีโอ
  • เข้าถึงได้รวดเร็ว ใช้เวลาในการโหลดข้อมูลน้อยกว่าโฆษณาแบบวิดีโอ เหมาะสำหรับการใช้งานบนอุปกรณ์มือถือ ที่อาจมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่แรง


ดาวน์โหลดคำศัพท์สำหรับเตรียมสอบ Meta Certified

Digital Marketing Glossary E-book
ดาวน์โหลด E-book ฟรี

ถ้าพร้อมแล้วที่จะปลดล็อกศักยภาพในสายงาน Digital Marketing

ลงทะเบียนสอบเพื่อรับ Meta Certified Digital Marketing Associate กับเราได้เลย!

ราคา 1,800 บาท ต่อการสอบ 1 ครั้ง ต่อ 1 วิชา

ราคาดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

Register Now
Previous Postเปิดโลก Packaging Design ศัพท์เด็ดที่นักออกแบบมือใหม่ควรรู้!
Next Post 7 Checklists วางแผน Career Path หาอาชีพที่ใช่ให้ตนเอง