อบรมกับ ARIT รับสิทธิลดหย่อนภาษี 200%


ในยุค 5G ที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไวและไม่หยุดนิ่ง การพัฒนาตัวเองก็เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่รั้งรอไม่ได้ เพราะแค่การใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย อาจยังไม่เพียงพอสำหรับการแข่งขันในทศวรรษนี้ การมีบุคลากรที่มีคุณภาพยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้น การพัฒนาทักษะบุคลากรจึงเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะช่วยเพิ่มพูนประโยชน์ให้ทั้งตัวบุคคลและองค์กรควบคู่กันไป

ด้วยเหตุนี้เอง พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 จึงกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่ดำเนินการจัดฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้แก่ลูกจ้างของตน มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนร้อยละร้อยของค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนลูกจ้างเฉลี่ยในรอบปี หากไม่จัดฝึกอบรม หรือฝึกอบรมไม่ครบตามสัดส่วน ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาฝีมือแรงงานในภาคอุตสาหกรรม และภาคการบริการของประเทศ เรียกได้ว่าประโยชน์คูณสอง ได้ทั้งการพัฒนา ได้ทั้งกำไรที่เพิ่มขึ้นเลยทีเดียว!

ใครบ้างที่ได้รับสิทธิ?
  • ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
ใช้เวลาฝึกนานแค่ไหนถึงจะนำไปลดหย่อนได้?
  • การฝึกเตรียมเข้าทำงาน (ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง)
  • การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง)
  • การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง)
ใครเป็นผู้ดำเนินการ?
  • ฝ่ายบุคคล : ประสานงานกับสถานฝึกอบรม และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
  • ฝ่ายบัญชี : ติดต่อ กรมสรรพากร
อยากใช้สิทธิต้องทำยังไง?
  • ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ กรณีมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป
    • ยื่นแบบ สท.1 = แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ
    • ยื่นแบบ สท.4 = แบบแจ้งบัญชีรายชื่อลูกจ้าง
  • ยื่นเอกสาร และดำเนินการจัดฝึกอบรม ตามสัดส่วนหรือมากกว่าร้อยละ 50
    ยื่นเอกสารขอรับความเห็นชอบหลักสูตร สามารถทำได้ 2 แบบ
    แบบที่ 1 : ยื่นก่อนอบรม ไม่น้อยกว่า 5 วันก่อนการฝึก พร้อมจัดทำประมาณการค่าใช้จ่าย
    แบบที่ 2 : ยื่นหลังอบรมเสร็จสิ้น ภายใน 60 วัน (แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มกราคมของปีถัดไป)
    • กรณีดำเนินการฝึกอบรมเอง (In-House Training)
      • คำขอรับการรับรองหลักสูตรฯ แบบ ฝย/ฝป 1
      • รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม แบบ ฝย/ฝป 2-1
      • รายชื่อผู้รับการฝึกอบรม แบบ ฝย/ฝป 3
      **สามารถนำไปยกเว้นภาษีเงินได้กับกรมสรรพากรได้เพิ่มอีก 100%
    • กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก (Public Training)
      • คำขอรับการรับรองหลักสูตรฯ แบบ ฝย/ฝป 1
      • รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม แบบ ฝย/ฝป 2-2
      กรมสรรพากรจะพิจารณาค่าใช้จ่ายจากใบเสร็จที่สถานฝึกอบรมเรียกเก็บโดยไม่ต้องผ่านกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
  • ยื่นแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (แบบ สท.2)
    พร้อมหนังสือรับรองการอบรม (ข้อ 2) เพื่อประเมินเงินสมทบภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
    ส่งเงินสมทบ : กรณีจัดฝึกอบรมไม่ครบตามสัดส่วนร้อยละ 50 ของจำนวนลูกจ้างเฉลี่ยในรอบปีนั้นๆ
    จ่ายเงินเพิ่ม : กรณีจ่ายเงินสมทบเกินเวลาที่กำหนด (จ่ายภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป)

    ไม่ต้องส่งเงินสมทบ 2 กรณี
    • จำนวนลูกจ้างในปีปฏิทินใดมีจำนวนลูกจ้างในแต่ละเดือนไม่ถึง 100 คน หรือเฉลี่ยในรอบปีไม่ถึง 100 คน
    • ผู้ประกอบกิจการหยุด หรือเลิกกิจการโดยไม่มีสถานภาพเป็นผู้ประกอบกิจการที่ดำเนินการแล้ว ให้ยื่นแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ประกอบกิจการ (สท.8)
ยื่นแบบฯ และส่งเงินสมทบได้ที่ไหน?
  • กรุงเทพมหานคร : กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพวัดธาตุทอง
  • ต่างจังหวัด : สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด
สถานอบรมใดบ้างที่เข้าร่วม?
  • สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
  • สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
  • สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานของทางราชการ มูลนิธิ สมาคม
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งจัดฝึกอบรมเป็นการทั่วไป
  • ARIT เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมด้านคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และความรู้ต่างๆ ด้วยประสบการณ์การเทรนนิ่งกว่า 30 ปี ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าหลักสูตรของเราครอบคลุมทักษะด้านไอทีตั้งแต่ระดับ Beginner จนถึง Advance สามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 200% ได้ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545

    ดูรายละเอียด หรือ โทร 02-610-3095-96
ดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลอ้างอิง
Previous PostTOP 10 คอร์สฮิตที่คนลงเรียนมากที่สุด ปี 2024
Next Postแก้ปัญหาข้อความแปลกๆ ในเซลล์ที่พบบ่อย (Basic-Error)