เตรียมพร้อมสู่การเป็นผู้บริหาร Next Gen ด้วย PMI Project Management Ready
Project Manager คือใคร ทำหน้าที่อะไรบ้าง
Project Manager หรือที่หลายคนเรียกสั้น ๆ ว่า PM นั้น คือตำแหน่ง ผู้จัดการโครงการ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารงาน บริหารคน และบริหารเวลาไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้โครงการเสร็จสิ้นตามเป้าหมาย ตรงเวลา และได้ประสิทธิภาพ
หน้าที่ของ PM จะเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนงานส่วนต่าง ๆ การมอบหมายงานที่เหมาะสมให้กับแต่ละคน ไปจนถึงการผลักดัน ติดตาม ควบคุมโครงการให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลา และงบประมาณที่วางแผนไว้ หากพบเจอปัญหาระหว่างทาง PM ก็จะต้องเป็นคนที่เข้ามาแก้ไขสถาณการณ์ บริหารให้โครงการผ่านไปให้ได้
ทักษะที่ผู้บริหารยุคใหม่ควรมี
- มีความเป็นผู้นำ เป็นนักคิด นักวิเคราะห์ แน่นอนว่าเมื่อก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำ สิ่งสำคัญที่อยู่ในความรับผิดชอบคือ การตัดสินใจ และการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้นำจะต้องกล้าตัดสินใจทั้งเรื่องใหญ่และเรื่องเล็ก โดยพิจารณาจากข้อมูลที่ต้องพยายามหามาให้ได้มากที่สุด เพื่อลดความผิดพลาด คอยมองหาข้อมูลที่สำคัญ เพื่อนำมาช่วยวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ไขปัญหา
- มีวิสัยทัศน์กว้างไกล รอบรู้ และมีข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ เพราะธุรกิจ คือการแข่งขัน ดังนั้นจึงมีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นตลอดเวลา ผู้นำที่ดีจำเป็นที่จะต้องมีแนวความคิดที่เปิดกว้าง เพื่อรับสิ่งที่อาจเป็นไปได้ ในการสร้างโอกาสในอนาคต รวมทั้งอัปเดตเทรนด์ความรู้ของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นความรู้เรื่องใหญ่ ๆ หรือความรอบรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจช่วยส่งเสริมให้การทำงานดีขึ้นได้
- ให้ความสำคัญกับทีมงาน และการทำงานเป็นทีม รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนรวมถึงตนเองด้วย บางอย่างผู้นำอาจคอยดูแล และบริหารอยู่ห่าง ๆ ให้เกียรติกับทีมงานในหน้าที่ที่ได้มอบหมายไปแล้ว ให้ความสำคัญกับความคิดของทีมงาน เปิดโอกาสให้คนในทีมได้ออกความคิดเห็น และรับฟังอย่างตั้งใจไม่ว่าแนวความคิดนั้นจะได้รับการนำมาใช้หรือไม่ก็ตาม เพราะอย่างน้อยสิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้จะส่งผลให้สมาชิกในทีมมีความเชื่อมั่นในตัวเอง และเชื่อมั่นในทีมเวิร์ก สามารถทำงานร่วมกันและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
เสริมความมั่นใจด้วยใบรับทักษะมาตรฐานสากลจาก PMI
ข้อได้เปรียบของการเริ่มต้นเป็นผู้บริหารโครงการ Next Gen คือ ความสดใหม่ และความกล้าของ PM ที่จะท้าทายทำในสิ่งที่แตกต่าง ซึ่งจะช่วยให้การบริหารโครงการมีทิศทางที่แตกต่างออกไปจากรูปแบบเดิม ๆ
แต่ขณะเดียวกัน ข้อจำกัดของความเยาว์วัย ก็มาในรูปแบบของความน่าเชื่อถือ ซึ่งโปรไฟล์ของ PM Next Gen อาจจะยังมีประสบการณ์ลงสนามจริงน้อย หรือยังไม่มีเลย จึงจำเป็นต้องมีตัวช่วยที่จะสร้างความน่าเชื่อถือนี้ให้กับ Stakeholder ว่ามีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการอย่างแท้จริง
วิธีที่ได้รับความนิยมที่สุด คือ การันตีทักษะในการเป็น Project Manager ด้วยการรับรองที่เป็นมาตรฐานสากล โดยเฉพาะการรับรองจาก PMI หรือ Project Management Institute ซึ่งเป็นสถาบันด้านการบริหารโครงการ ที่ก่อตั้งมายาวนานตั้งแต่ปี 1969 เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ดำเนินงานอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสำเร็จขององค์กร ช่วยให้ผู้ประกอบโครงการและผู้สร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงมีทักษะและวิธีการใหม่ ๆ ในการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กำหนดมาตรฐานระดับมืออาชีพ ดำเนินการวิจัย สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาด้านวิชาชีพ และพิจารณาการรับรองคุณวุฒิต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการ เช่น
- Project Management Professional
- Program Management Professional
- Portfolio Management Professional
- Certified Associate in Project Management
- PMI Professional in Business Analysis
- PMI Agile Certified Practitioner
- PMI Risk Management Professional
- PMI Scheduling Professional
- PMI Project Management Ready
กรอบการรับรอง PMI Certification
สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นเป็นผู้บริหารโครงการ เราขอแนะนำ Certificate ที่มีชื่อว่า PMI Project Management Readyซึ่ง PMI กำหนดให้เป็นใบประกาศนียบัตรรับรองความรู้ในระดับเริ่มต้น เพื่อวัดมาตรฐานความรู้ภายใต้กรอบการบริหารจัดการโครงการ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. พื้นฐานด้านการบริหารจัดการโครงการ
- แนวทางการจัดการโครงการทั่วไป เช่น เข้าใจ Project Life Cycle และแยกความแตกต่างของการ Approach แบบต่าง ๆ ได้
- การมีจริยธรรมในการจัดการโครงการ
- ทักษะพื้นฐานด้านการเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการจัดการความขัดแย้ง
- ทักษะการสื่อสารในโครงการ
2. การบริหารจัดการเมื่อเริ่มต้นโครงการ
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Project Charter
- ข้อแตกต่างของบทบาท และความรับผิดชอบของ Stakeholder
3. การบริหารจัดการวางแผนงาน
- วัตถุประสงค์ของแผนการจัดการโครงการ
- แนวคิดขอบเขตโครงการ
- แนวคิดในการกำหนดระยะเวลาโครงการ
- แนวคิดงบประมาณโครงการ
4. การบริหารจัดการเมื่องานเสร็จสิ้น
- สังเกตการณ์ขอบเขตโครงการ กำหนดการ และงบประมาณ
- อธิบายกระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลง
- แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพในการทำงานโครงการ
5. การบริหารจัดการเมื่อจบโครงการ
- ตรวจสอบความสมบูรณ์ของโครงการ
- เอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการปิดโครงการ
รายละเอียดการสอบ PMI Project Management Ready
- เวลาที่ใช้ในการสอบ 50 นาที
- เกณฑ์การผ่าน 700 คะแนน จากคะแนนเต็ม 1000 คะแนน
- ข้อสอบ 40 ข้อ
- รูปแบบข้อสอบ
- ข้อสอบปรนัย แบบตัวเลือกเดียว (Single choice)
- ข้อสอบปรนัย แบบหลายตัวเลือก (Multiple choice)
- ข้อสอบแบบลากวาง (Drag & Drop)
- ข้อสอบแบบเรียงลำดับ (Sorting order)
- ข้อสอบแบบเลือกตอบ (Drop down list)
- ข้อสอบแบบถูก/ผิด (Yes/No หรือ True/False)
Score Report PMI Project Management Ready
เมื่อส่งข้อสอบเรียบร้อยแล้ว ผู้ทดสอบจะได้รับผลคะแนนการสอบทันที โดยจะแจงรายละเอียดเป็นเปอร์เซ็นต์ในแต่ละหมวดการวัดทักษะ ซึ่งผู้ทดสอบสามารถใช้ข้อมูลส่วนนี้ในการวิเคราะห์ทักษะของตนเอง เพื่อให้เข้าใจทักษะที่ทำได้ดี และทักษะที่สามารถพัฒนาเพิ่มขึ้นได้อีก
ใบรับรองทักษะ PMI Project Management Ready
หากสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากล ผู้สอบจะได้รับ ใบรับรองทักษะ PMI Project Management Ready และ Digital Badge ออนไลน์ เพื่อนำไปใส่พอร์ตฟอลิโอ อัปเกรดโปรไฟล์ หรือแชร์ไปยัง Social Media ได้เลย
การันตีทักษะในสายงาน Project Management
ลงทะเบียนสอบเพื่อรับ PMI Project Management Ready Certification
PMI Project Management Ready