ทำความรู้จัก Cert. ใหม่แห่งวงการไอที (ITS : IT Specialist)

เป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีนั้นเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะทักษะด้าน Cloud Computing, Big Data , Security , Python, Networking และ Artificial Intelligence ซึ่งเป็นทักษะที่เป็นที่ต้องการอย่างมากในขณะนี้ บริษัทมากมายเลือกที่จะให้ค่าตอบแทนพิเศษแก่พนักงานหรือผู้สมัครงานที่ได้รับการการันตีความสามารถด้านต่าง ๆ เหล่านี้ ดังนั้น การมี Certificate รับรองทักษะด้านไอทีจึงมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการเติบโตในสายงานไอที หรือแม้แต่สายงานอื่นที่ต้องจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อนการทำงาน (อ่านเพิ่มเติม : ทำไมคน IT ต้องมี Cert.)

นอกเหนือจากประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานความรู้ดั้งเดิมที่มีอยู่แล้วในตลาดไอที ไม่ว่าจะเป็น Cisco, Microsoft, CompTIA ครั้งนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับเซอร์น้องใหม่แห่งวงการไอทีที่เพิ่งเปิดตัวมาได้ไม่นาน ได้แก่เซอร์ที่มีชื่อว่า “Information Technology Specialist” เรียกสั้น ๆ ว่า IT Specialist หรือ ITS (ไอทีเอส)

IT Specialist Certification คืออะไร?

ประกาศนียบัตรรับรองทักษะ IT Specialist เป็นใบประกาศที่ใช้วัดระดับความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งเป้าไปที่ผู้สมัครที่กำลังพิจารณาหรือเพิ่งเริ่มต้นเส้นทางสู่อาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คนทำงานด้านไอที หรือนักศึกษาจบใหม่ ผู้ที่ต้องการเริ่มต้นเดินทางในสายอาชีพด้านไอที หรือต้องการย้ายสายงานมาทำงานในสายไอที เพราะประกาศนียบัตรใบนี้จะเป็นเหมือนเครื่องการันตีว่าเรานั้นมีความรู้ครอบคลุมพื้นฐานไอทีเฉพาะด้าน และพร้อมที่จะพัฒนาความรู้สู่ระดับสูงต่อไป

ครอบคลุมการวัดทักษะด้านใดบ้าง?

15 วิชา การทดสอบทักษะ ภายใต้ใบเซอร์ IT Specialist ประกอบด้วย

  1. Databases
    • การออกแบบฐานข้อมูล
    • การจัดการวัตถุฐานข้อมูลโดยใช้ DDL
    • การดึงข้อมูลมาวิเคราะห์
    • การจัดการข้อมูลโดยใช้ DML
    • การแก้ไขปัญหา
  2. Software Development
    • แนวคิดหลักการเขียนโปรแกรม
    • หลักการพัฒนาซอฟต์แวร์
    • การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
    • เว็บแอปพลิเคชัน
    • ฐานข้อมูล
  3. Networking
    • ความรู้พื้นฐานด้านเครือข่าย
    • โครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย
    • ฮาร์ดแวร์เครือข่าย
    • โปรโตคอลและบริการ
    • การแก้ไขปัญหา
  4. Network Security
    • การป้องกันในเชิงลึก
    • ความปลอดภัยของระบบปฏิบัติการ
    • ความปลอดภัยของอุปกรณ์เครือข่าย
    • Secure Computing
  5. JavaScript
    • ตัวดำเนินการ JavaScript เมธอด และคีย์เวิร์ด
    • ตัวแปร ชนิดข้อมูล และฟังก์ชัน
    • เอกสาร Object Model
    • HTML Forms
  6. Java
    • Java Fundamentals
    • ชนิดข้อมูล ตัวแปร และนิพจน์
    • การดำเนินการควบคุม Flow
    • การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
    • การรวบรวมโค้ดและการดีบัก
  7. Python
    • ดำเนินการโดยใช้ชนิดข้อมูลและตัวดำเนินการ
    • ควบคุม Flow ด้วยการตัดสินใจและลูป
    • ดำเนินการอินพุตและเอาต์พุต
    • ข้อความสตริงเอกสารและรหัสโครงสร้าง
    • ดำเนินการแก้ไขปัญหาและจัดการข้อผิดพลาด
    • ดำเนินการโดยใช้โมดูลและเครื่องมือ
  8. HTML and CSS
    • หลักการพื้นฐานของ HTML
    • หลักการพื้นฐานของ CSS
    • โครงสร้างเอกสารโดยใช้ HTML
    • การนำเสนอมัลติมีเดียโดยใช้ HTML
    • การจัดรูปแบบหน้าเว็บโดยใช้ CSS
    • การเข้าถึง ความสามารถในการอ่าน และการทดสอบ
  9. HTML5 Application Development
    • การจัดการวงจรการพัฒนาแอปพลิเคชัน
    • กราฟิกและแอนิเมชั่น
    • แบบฟอร์ม
    • เลย์เอาต์
    • การเข้ารหัส JavaScript
  10. Device Configuration and Management
    • การติดตั้งและกำหนดค่า
    • แอปพลิเคชันและการจัดการอุปกรณ์ต่อพ่วง
    • การเข้าถึงและการจัดการข้อมูล
    • ความปลอดภัยของอุปกรณ์
    • การแก้ไขปัญหา
  11. Artificial Intelligence
  12. Cloud Computing
  13. Computational Thinking
  14. Cybersecurity
  15. Data Analytics

โดยทักษะด้าน ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) , เทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud Computing) และ ทักษะการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) เป็นทักษะใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ซึ่งถูกพัฒนาและเป็นที่ต้องการอย่างมากโดยเฉพาะเมื่อโลกเกิดสถานการณ์ที่ทุกประเทศต้องปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต และนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อน และเป็นทักษะที่ผู้ว่าจ้างในทุกอุตสาหกรรมต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านนี้เป็นอย่างมาก ข้อสอบของ ITS จึงออกแบบมา เพื่อตอบสนองการวัดระดับความรู้พื้นฐานเฉพาะด้านที่สอดคล้องกับความต้องการของยุคดิจิทัล (สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : หัวข้อการทดสอบ ITS (Objective Domain)

จำเป็นต้องมีความรู้หรือผ่าน Certificate ใดมาก่อนหรือไม่?

ไม่มีข้อกำหนดตายตัวว่าจำเป็นต้องผ่านการรับรองประกาศนียบัตรใดมาก่อนจึงจะสามารถสอบ ITS ได้ เพราะ IT Specialist นั้นเป็นการวัดระดับทักษะความรู้พื้นฐานอยู่แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นการทดสอบความรู้ อาทิเช่น ทักษะที่เกี่ยวข้องกับ Software Development ผู้ทดสอบจำเป็นจะต้องมีความรู้ หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับภาษาที่เกี่ยวข้องในการเขียนโค้ดดิ้ง เช่น ภาษา C#, HTML, CSS และ ANSI SQL มาบ้าง ซึ่งทุกการทดสอบล้วนเป็นการสอบในระดับความรู้พื้นฐาน หากผู้สอบมีทักษะที่ตรงตามวัตถุประสงค์การสอบ (Objective Domain) ก็สามารถผ่านการรับรองได้ไม่ยาก

ลักษณะการสอบเป็นอย่างไร?

การทดสอบแต่ละวิชานั้นจะใช้เวลาเท่ากัน คือ 50 นาที แต่จำนวนโจทย์การทดสอบจะอยู่ระหว่าง 35-55 คำถาม ขึ้นอยู่กับแต่ละทักษะ ลักษณะของการทดสอบนั้นจะเป็นการทำข้อสอบผ่านระบบการทดสอบที่มีระบบ และมาตรฐานระดับสากล ในลักษณะออนไลน์ โดยมีรูปแบบโจทย์ข้อสอบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

  • ข้อสอบปรนัย แบบตัวเลือกเดียว (Single choice)
  • ข้อสอบแบบเรียงลำดับ (Sorting order)
  • ข้อสอบแบบเลือกตอบ (Drop down list)
  • ข้อสอบแบบถูก/ผิด (Yes / No หรือ True / False)
  • ข้อสอบแบบลาก-วาง (Drag & Drop)
  • ข้อสอบปรนัย แบบหลายตัวเลือก (Multiple choice)
  • ข้อสอบอัตนัย เติมคำในช่องว่าง

เตรียมตัวอย่างไรก่อนสอบ?

คู่มือในการเตรียมตัวสอบที่ดี และฟรี คือ Objective Domains เพราะเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราเตรียมตัวในการสอบได้ตรงจุด ซึ่งภายใน Objective Domains จะระบุหัวข้อการทดสอบของวิชานั้น ๆ เพื่อให้มีแนวทางในการเตรียมพร้อมก่อนการสอบ แต่สำหรับคนที่ไม่มั่นใจ หรือไม่มีความรู้ในทักษะเฉพาะวิชานั้น ๆ มากนัก ก็ยังมีตัวช่วย แบบมีค่าใช้จ่ายที่เจ้าของผลิตภัณฑ์สร้างขึ้นมาด้วยเนื้อหาที่สอดคล้องกับชุดข้อสอบ ผ่านระบบที่เป็นมาตรฐานสากล เพื่อรองรับให้ผู้สอบเกิดการเรียนรู้ ฝึกฝน ก่อนจะเข้าสู่ระบบการสอบจริง ซึ่งมีอะไรบ้าง ลองมาทำความรู้จักกัน

LearnKey

เครื่องมือการเรียนรู้ออนไลน์ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง มี Lab ทดลองปฏิบัติได้จริง เน้นไปที่เนื้อหาที่ควรต้องรู้ เพื่อให้เข้าใจวิธีการปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต้องรู้ในสายงานต่าง ๆ มีแบบฝึกหัดก่อน และหลังเรียน เพื่อวัดระดับการเรียนรู้ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมือใหม่ในสายงาน และเป็นเครื่องมือเรียนรู้ก่อนการสอบจริงได้เป็นอย่างดี

CertPREP Practice Tests

เครื่องมือการเรียนรู้ในรูปแบบการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้งานผ่านออนไลน์ได้เช่นกัน โดย CertPREP นั้นจะช่วยจำลองสถานการณ์แวดล้อมให้เหมือนกับการสอบจริง คือการจับเวลา และแจ้งผลคะแนนการทำแบบทดสอบออกมา มีระดับความรู้แต่ละหัวข้อแจ้งผู้เรียนให้ทราบว่าส่วนไหนที่ทำได้คล่องแคล่วแล้ว และส่วนไหนควรต้องฝึกฝนเพิ่มเติม เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจอยู่แล้วแต่ยังขาดความมั่นใจในการสอบ

SkillOn

หากใครที่อยากเรียนในเวอร์ชันภาษาไทย กับวิทยากรที่มาแนะนำหัวข้อหลัก ๆ และให้ความรู้เพื่อให้คุณพร้อมสำหรับสอบใบเซอร์ ITS แพลตฟอร์ม SkillOn ของเรา คือแพลตฟอร์มเฉพาะด้านที่มีบทเรียนติวสำหรับการสอบ ครอบคลุมทุกวัตถุประสงค์การสอบ พร้อมความรู้ ไว้รองรับ และเหมาะกับการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตวิถีใหม่ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา

ITS จะเป็นใบเบิกทางในการเปิดสายอาชีพที่จำเป็นต้องใช้ทักษะไอทีเฉพาะด้าน เป็นใบเซอร์รับรองทักษะให้กับคุณเป็นที่ยอมรับและเติบโตทั้งตำแหน่งงาน และรายได้ โอกาสที่จะสร้างความแตกต่างให้กับตัวเองไม่ว่าคุณจะอยู่ในประเทศไทย หรือต่างประเทศ ITS เป็นหนึ่งตัวช่วยสำคัญให้กับคุณได้

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบ Certificate และการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับไอทีตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามหรือรับคำแนะนำจากเราได้ที่ 02-610-3095 หรือทุกช่องทางการติดต่อของบริษัท เออาร์ไอที จำกัด (ARIT)

ข้อมูลอ้างอิง :
Previous Postทำไมสาย IT ต้องมี Cert.
Next Post7 ทักษะจำเป็นของการเป็นพลเมืองดิจิทัล