แรงกระทบ Covid-19 ความผกผันของอัตราว่างงาน กับความต้องการตลาดแรงงาน IT
กว่าสองปีที่โรคระบาด Covid-19 อยู่กับเรามาอย่างยาวนาน นอกจากผลกระทบทางตรงเรื่องสุขภาพที่คร่าชีวิตได้โดยตรงแล้ว แรงกระทบจากโควิดก็เป็นยิ่งกว่าคลื่นใต้น้ำที่กระทบทั่วไปทุกวงการ โดยเฉพาะปัญหาการเลิกจ้าง การว่างงาน และการปิดตัวลงของธุรกิจเล็กใหญ่มากมายที่ไม่สามารถแบกรับการขาดทุนต่อได้อีกต่อไป
บทความนี้อาจจะอ่านยากสักหน่อยสำหรับใครที่ไม่ชอบข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขและตาราง เพราะเราได้ไปเสาะหาข้อมูลตัวเลขและสถิติการสำรวจต่าง ๆ สำหรับเป็นแหล่งข้อมูลประดับความรู้ให้กับคุณ แต่ไม่ต้องกังวลว่าจะเข้าใจยากไหม เพราะเราจะสรุปเป็นภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่าย ๆ เพื่อให้คุณเข้าใจถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่าทำไม คุณถึงจำเป็นต้องกอดงานประจำเอาไว้แน่น ๆ หรือตัดสินใจให้ชัวร์ก่อนเปลี่ยนงาน หรือแม้แต่ใครที่ต้องการอยากจะเปลี่ยนสายงานควรจะทำอย่างไรให้ไม่ชวดจากงานที่เล็งไว้เหล่านั้น
ธุรกิจไปไม่ไหว เพียง 2 ไตรมาส แจ้งเลิกกิจการแล้วกว่า 6 พัน
กว่าสองปีที่โรคระบาด Covid-19 อยู่กับเรามาอย่างยาวนาน นอกจากผลกระทบทางตรงเรื่องสุขภาพที่คร่าชีวิตได้โดยตรงแล้ว แรงกระทบจากโควิดก็เป็นยิ่งกว่าคลื่นใต้น้ำที่กระทบทั่วไปทุกวงการ โดยเฉพาะปัญหาการเลิกจ้าง การว่างงาน และการปิดตัวลงของธุรกิจเล็กใหญ่มากมายที่ไม่สามารถแบกรับการขาดทุนต่อได้อีกต่อไป
ซึ่งจริง ๆ แล้วต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการจดทะเบียนเปิดกิจการและแจ้งยกเลิกกิจการนั้นเป็นเรื่องปกติในวงการธุรกิจด้วยสาเหตุต่างกันไปของเจ้าของกิจการ เพียงแต่ในช่วงสองปีมานี้นั้นก็อาจต้องยอมรับอีกเช่นกันว่าผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 นั้น ได้กลายเป็นคลื่นระลอกหลักที่ซัดให้หลายกิจการไม่สามารถไปต่อได้ และต้องลงเอยด้วยการปิดกิจการ
ตัวเลขผู้ว่างงานแตะ 7 แสนคน
แน่นอนว่าการปิดตัวลงของกิจการเหล่านี้ ย่อมส่งผลถึงจำนวนผู้ที่ถูกเลิกจ้างตามไปด้วย จากเดิมที่ความต้องการของตลาดแรงงานมีน้อยกว่าจำนวนผู้ว่างงานอยู่แล้ว ในสถานการณ์วิกฤติต่อเนื่องอย่างยาวนานเช่นนี้จึงยิ่งทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ
ข้อมูลจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ บอกเราว่าอัตราว่างงานตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 จนถึงปัจจุบัน จำนวนผู้ว่างงานสูงมากถึง 7 แสนคน มีอัตราการเพิ่มขึ้นและลดลงในแต่ละไตรมาสเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยสาเหตุหลักของการว่างงานนั้นก็คาดเดาได้ไม่ยาก ซึ่งก็มาจากการที่นายจ้างเลิก/หยุด/ปิดกิจการ นั่นเอง และต่อให้นายจ้างบางกิจการจะยังเปิดอยู่แต่ก็มีนโยบายในการปรับลดแรงงาน และไม่ต่อสัญญาจ้างแรงงาน เนื่องจากต้องลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเพื่อให้สามารถประคับประคองธุรกิจต่อไปได้ ส่งผลให้การถูกเลิกจ้างเพราะหมดสัญญาจึงมาเป็นสถิติในลำดับที่ 2
นักศึกษาจบใหม่สู่การแข่งขันบนตลาดแรงงาน
นอกจากการว่างงานที่เกิดจากการถูกเลิกจ้างจะอยู่ในอัตราที่สูงแล้ว อย่าลืมว่าเรายังมีจำนวนนักศึกษาจบใหม่ที่ตกค้างจากปี 2563 ปี 2564 และกำลังจะจบในปีการศึกษา 2565 ที่ต้องก้าวเข้าสู่การแข่งขันในตลาดแรงงานอีกจำนวนมหาศาล จากการประมาณการของ กรมการจัดหางาน ปีละราว ๆ 3 แสนคน
ซึ่งทางบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการสรรหาบุคลากรก็ได้มีผลสำรวจเกี่ยวกับอาชีพที่เป็นที่นิยมในปี 2564 ออกมา อาทิ
- สายงานวิศวกร ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น งานวิศวกรโครงการ งานวิศวกรเหมืองแร่และเคมี งานวิศวกรโยธา งานวิศวกรเครื่องกล งานวิศวกรไฟฟ้า
- งานขนส่งและโลจิสติกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ผู้คนไม่สามารถสัญจรไปไหนมาไหนได้สะดวก ต้องพึ่งพาการขนส่งเป็นส่วนมากทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์เติบโตและต้องการแรงงานเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นงานด้านคลังสินค้า หรืองานขับรถเพื่อการขนส่งสินค้า
- งานบัญชีและการเงิน สายงานที่ไม่ว่าเมื่อไหร่ก็ยังเป็นที่ต้องการ เพราะงานบัญชี หรืองานที่ปรึกษาทางด้านการเงิน ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เรียกได้ว่าทุกบริษัทที่ขึ้นทะเบียนธุรกิจจำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการทางการเงินด้วยมืออาชีพ ไม่ว่าจะโดยพนักงานประจำหรือจ้างบริษัทภายนอกเข้ามาบริหารจัดการบัญชีให้ก็ตาม
- งานขายและงานการตลาด ในยุคที่ธุรกิจพากันย้ายเข้าสู่ตลาดดิจิทัล บวกกับสถานการณ์ Covid-19 ที่เป็นเหมือนปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ธุรกิจต้องรีบยกระดับตัวเองสู่การออนไลน์ ไม่ว่าจะพร้อม 100% หรือไม่ก็ตาม งานด้านการขายและการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตลาดดิจิทัล จึงเป็นที่ต้องการและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนวิธีการขายรูปแบบเดิมให้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
- งานบริการทางการแพทย์และสุขภาพ เพราะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษา ฝึกฝนเป็นเวลานานเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ ดังนั้นปริมาณบุคลากรการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น หมอ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ หรือสายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้เฉพาะทางด้านการแพทย์จึงมีน้อย จึงทำให้สายงานนี้เป็นที่ต้องการในตลาดทั้งไทยและต่างประเทศ
- สายงานไอที มาถึงสายงานสำคัญที่เป็นตัวเอกของบทความนี้ เชื่อหรือไม่ว่า ไม่ว่าจะยุคสมัยไหนสายงานด้านไอทีก็ยังคงเป็นงานยอดฮิตที่ได้รับความนิยมอยู่เสมอ เพราะเทคโนโลยีนั้นไม่เคยหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกมันพัฒนาตัวเองและก้าวกระโดดไปไวขึ้นทุกวัน ดังนั้นบุคลากรที่จะอยู่ในสายงานนี้ก็จำเป็นจะต้องก้าวให้ทัน และยิ่งไปกว่านั้นคือหากสามารถก้าวให้ล้ำไปยิ่งกว่าเทคโนโลยี สามารถเป็นผู้สร้างและควบคุมมันได้ ความสามารถของคุณนั้นก็จะอยู่ในจุดที่ไม่ว่าใครก็ต้องการตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน Programmer & Developer ที่เป็นที่ต้องการของตลาด ด้าน System & Network หรือรากฐานของโครงสร้างงานไอทีที่ขาดไปไม่ได้อย่างงาน IT Support และด้าน Data Analyst การวิเคราะห์ข้อมูลที่ต้องอาศัยความเข้าใจเชิงลึก รวมไปถึงสายงาน Robotic ที่กำลังมาแรง ดังนั้นบทความนี้เราจึงนำผลสำรวจรายได้ของตำแหน่งงานด้านไอทีมาให้ดูกันเบื้องต้นสำหรับน้อง ๆ นักศึกษาจบใหม่ที่กำลังมองหางาน IT
จากประเภทงานข้างต้น ทำให้เราพอจะเห็นภาพได้ว่าสายงานที่ต้องมีความรู้เฉพาะทางนั้น ไม่ว่าอย่างไรก็เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอยู่เสมอ และในยุคที่อัตราการว่างงานสูงเมื่อเทียบกับตำแหน่งงานในตลาดเช่นนี้ การแข่งขันย่อมสูงตามไปด้วย อาจเรียกได้ว่าใครที่มีประสบการณ์มากกว่าย่อมมีโอกาสถูกเลือกมากกว่า พอสรุปเช่นนี้แล้ว น้อง ๆ นักศึกษาที่เพิ่งออกจากรั้วมหาวิทยาลัยหมาด ๆ คงยิ่งกังวลใจไปใหญ่ว่าแล้วจะให้ไปเอาประสบการณ์จากที่ไหนมาสู้กับคนอื่น ก็คงแนะนำได้ว่า “ความสดใหม่ในวิชาความรู้” และ “การเปิดใจที่จะเรียนรู้” น่าจะเป็นตัวช่วยชั้นดีที่ทำให้เราถูกมองเห็น และในยุคที่การเรียนและค้นคว้าสามารถเข้าถึงผ่านออนไลน์ได้ง่ายขึ้น การที่เรามีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ (Passion) ก็จะยิ่งทำให้เราโดดเด่นและมีโอกาสได้รับเลือกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายงานด้านไอทีที่มักจะมีการวัดผลความรู้เพิ่มเติมและอัปเดตความรู้ใหม่ๆด้วย “Certificate” หรือ ใบประกาศรับรองจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ กันออกไป การมีใบประกาศ หรือ Cert. เหล่านั้นติดตัวไว้ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะเพิ่มมูลค่าโปรไฟล์ ให้นายจ้างมองเห็นความสามารถของเราเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง- รายชื่อนิติบุคคลจัดตั้งใหม่และเลิกปี พ.ศ. 2564 : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล ปี พ.ศ. 2563 : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- การสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร ไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2564 : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
- ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2564- ปี 2565 : กรมการจัดหางาน
- Thailand Salary Guide 2021 : Adecco