การเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน ใน Photoshop CS6

วันนี้ผมมีเทคนิคในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ Photoshop ด้วยการตั้งค่าการทำงานของโปรแกรม ที่จะช่วยเพิ่มให้ประสิทธิภาพการทำงานให้เต็ม 100 % ถ้าพร้อมแล้ว เปิดโปรแกรม Photoshop ขึ้นมาเลยครับ

  1. คลิกเมนู Edit เลือกคำสั่ง Preferences และคลิกคำสั่ง Performance
  2. ที่ Memory Usage ซึ่งจะช่วยปรับการใช้หน่วยความจำของโปรแกรม Photoshop ด้วยการเพิ่มการใช้ Ram ของระบบ จากเดิมที่ตั้งค่าไว้ 70% เปลี่ยนเป็น 100%
  3. History States ซึ่งจะมีหน้าที่ในการจดจำขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม Photoshop ปกติเมื่อเปิดโปรแกรมครั้งแรก ค่าเริ่มต้นจะเป็น 50 ครั้ง ค่ายิ่งเยอะจะต้องใช้หน่วยความจำมาก ดังนั้น สามารถปรับลดลงได้ครับ ตั้งไว้สัก 20 ก็พอ
  4. Scratch disks ซึ่งมีหน้าที่จัดการฮาร์ดดิสก์ ในกรณีที่ไฟล์งานมีขนาดใหญ่เกินที่จะเขียนลงบน Ram หรือกรณี Ram เต็ม สามารถเรียกใช้งานผ่าน Scratch disks ทำให้ประสิทธิการทำงานดีขึ้นครับ
  5. คำสั่ง General ทำการปิดการแสดงผล Animation ต่างๆ ที่ไม่จำเป็น อย่างเช่น Animated Zoom และ Enable Flick Panning เพื่อช่วยลดการกระตุกระหว่างการทำงาน
  6. คำสั่ง File Handing กำหนดค่าที่ Automatically Save Recovery ซึ่งมีหน้าที่ ในการบันทึกไฟล์อัตโนมัติ หากตั้งค่าในการบันทึกบ่อยเกินไปจะทำให้การใช้งานโปรแกรมช้าลง สามารถปรับให้เหมาะสม อยู่ที่ 15 – 30 นาที ก็พอครับ
  7. ปิดการใช้งานไม้บรรทัดเมื่อไม่ใช้งาน ซึ่งอาการกระตุก อาจเกิดจากการเปิดไม้บรรทัดขณะทำงาน สามารถ ปิดการใช้งาน ได้ที่เมนู View คลิกเลือกคำสั่ง Rulers ให้เครื่องหมายถูกด้านหน้าหายไป
  8. สุดท้ายที่ Purge Memory การล้างหน่วยความจำ ด้วยคำสั่ง Purge ซึ่งสามารถล้างข้อมูลใน History หรือ Clipboard เพื่อช่วยเพิ่มหน่วยความจำได้ โดยคลิกเมนู Edit เลือกคำสั่ง Purge คลิกคำสั่ง All ซึ่งจะลบทุกอย่างออกไปทั้งหมด เราสามารถทำขั้นตอนนี้ก่อนที่จะเริ่มการสร้างชิ้นงานได้นะครับ

การเรียกใช้เครื่องมือในแต่ละ Version แตกต่างกันไปนะครับแต่คำสั่งพื้นฐานหลักๆ ก็จะคล้ายกัน อีกวิธีที่สามารถช่วยได้ คือ ปิดไฟล์ที่ไม่จำเป็นทิ้งไปครับ และทั้งหมดนี้เป็นการตั้งค่าที่สามารถช่วยให้โปรแกรม Photoshop ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลองนำไปปรับใช้กันดูน่ะครับ แล้วพบกันใหม่ใน Tip หน้าเทคนิคดีๆ By เออาร์ไอที สวัสดีครับ


โปรแกรมรับรองทักษะที่เกี่ยวข้อง

Click

Previous Postเกมส์เปิดป้ายทายภาพด้วยคำสั่ง Trigger ใน PowerPoint 2016
Next Postสั่งงานผ่านเว็บด้วย App Access กันเถอะ